ประวัติวัด

icon (Mobile)

ประวัติวัดคลองตาลอง

IMG_6568

วัดบ้านบันไดม้า

IMG_6567

สถานีรถไฟบันไดม้า

วัดคลองตาลองเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดบ้านคลองตาลองอยู่ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา      แต่ตั้งอยู่ในเนื้อที่บ้านบันไดห่างจากสถานีรถไฟ     บันไดม้า ประมาณ ๕๐๐ เมตร วัดบ้านบันไดม้าจะอยู่ที่ทางขึ้นเขาบันไดม้า ส่วนวัดคลองตาลองจะตั้งอยู่บนเขาบันไดม้า และห่างจากหมู่บ้านคลองตาลองประมาณ ๒ กิโลเมตร ซึ่งเป็นวัดที่ได้รับยกย่องให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๒๐ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒  มีเนื้อที่ของวัด ๑๕ ไร่ และมีเนื้อที่อีก ๓๖๐ ไร่ ดูแลรักษาป่าอยู่อีก โดยทางวัดได้ร่วมกันสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๗  (นครราชสีมา) ในการอนุรักษ์และรักษาป่าไม้ ในโครงการพัฒนาป่าไม้โดยมีวัดหรือสำนักสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ หลวงพ่อสมัย สมโย (พระครูโชติวัตรวิมล) ท่านเป็นพระที่ชอบป่าไม้จึงรณรงค์รักษาป่าไม้มาก หลวงพ่อเคยให้ตำสอนกับผู้เขียนประวัติวัดว่า “พระและวัดต้องช่วยกันรักษาป่าไม้ต้นไม้อย่าไปทำรายถ้าวัดไหนชอบทำรายป่าไม้วัดนั้นจะไม่เจริญ”

IMG_5239

หลวงพ่อสว่าง สุขกาโม

วัดคลองตาลองเดิมที่เป็นสำนักสงฆ์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยหลวงพ่อสว่าง  สุขกาโม เหตุที่หลวงพ่อสว่างได้คิดสร้างวัด เพราะก่อนที่ท่านจะบวชท่านได้เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือก และได้รักษาทั้งทางการแพทย์และใช้ธรรมะบำบัดคือก่อนที่หลวงพ่อสว่างจะอุปสมบทแผนผังกุฏิ01เป็นพระท่านได้ถือศีลแปดนุ่งขาวห่มเขาปฏิบัติเจริญภาวนาจบหลวงพ่อสว่างได้หายดี จึงคิดที่อุปสมบทเป็นพระและสละทรัพย์ส่วนตัวสร้างวัดขึ้น เริ่มแรกสร้าง ที่พักสงฆ์โดยได้ใช้ปัจจัยส่วนตัวและชาวบ้านคลองตาลองร่วมด้วยในการสร้างที่พักสงฆ์ ต่อมาก็ได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖  เนื่องในวโรกาสสร้างวัดถวายในหลวงครบ ๖๐ พรรษา เมื่อปี ๒๕๓๐  และเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงพ่อสว่าง สุขกาโม ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองตาลองซึ้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดคลองตาลอง ช่วงนั้นหลวงพ่อสมัย  สมโย (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ได้เดินธุดงค์มาจาก  สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อที่จะเดินท่างไปจังหวัดบุรีรัม และได้เดินทางผ่านสำนักสงฆ์คลองตาลอง จึงแวะพักที่สำนักสงฆ์คลองตาลอง  หลวงพ่อสว่าง สุขกาโม ซึ่งเป็นพระที่ชอบปฏิบัติอยู่แล้วเมื่อได้พบหลวงพ่อสมัย จึงเกิดความเลื่อมใสในการปฏิบัติของหลวงพ่อสมัย จึงขอร้องให้ช่วยดูแลวัดและสานต่องานพระพุทธศาสนาเพราะหลวงพ่อสว่างอายุมากแล้วและยังป่วยอีก  ด้วยความเมตาสงสารของหลวงพ่อสมัยที่เห็นหลวงพ่อสว่างที่มีอายุมากแล้วแต่มีความรักในพระพุทธศาสนาและรักการปฏิบัติหมายอย่าให้พระศาสนามีเจริญรุ่งเรือง หลวงพ่อสมัย จึงได้ตัดสินใจที่จะยุติการเดินธุดงค์ แล้วอยู่ช่วยหลวงพ่อสว่างดูแลพระเณรและพัฒนาวัดก่อน    ต่อมาเมื่อหลวงพ่อสว่าง สุขกาโม มรณภาพลงในพรรษาที่๗  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗         หลวงสมัย สมโย จึงได้รับช่วงเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไปซึ่งเป็นองค์ที่สองของวัดคลองตาลองในปีพ.ศ. ๒๕๓๘หลักจากหลวงพ่อสมัย สยโย ก็ได้มุ่งสารงานพระพุทธศาสนาโดยเน้นการอบรมการปฏิบัติธรรม โดยการจัดคอร์สปฏิบัติธรรมในวันสำคัญต่างๆ ปกรายการวิดีโอ                       IMG_578913055918_1303436096350576_1577292578361051040_o
เช่น วันพ่อแห่งชาติ,วันแม่แห่งชาติ,วันสงกรานต์,วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและมี่กิจกรรมจัดอบรมหลักสูตรคอร์สข้าราชการและประชาชนทั้วไปที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาเข้าร่วมปฏิบัติเป็นต้น พร้องทั้งมีการจัดกิจกรรมให้มีการสวดมนต์และเจริญจิตภาวนาโดยเฉพาะการถือเนสัชชิกังคะ เป็นหนึ่งในธุดงค์วัตร ๑๓ คือการสมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง ๓ อิริยาบถ ไม่อยู่ในอิริยาบถนอน   “การถือ เนสัชชิก คือ ปฏิบัติในอิริยาบถนั่ง ยืน เดิน ไม่นอน หากง่วงนอน ก็จะไม่เอนกายลงนอนจะเพียงแต่พิงเสานั่งหลับเท่าที่จำเป็นแก่ร่างกายเท่านั้นแต่ทางวัดจะเน้นการสวดมนต์ด้วยบทพุทธคุณ,ธรรมคุณ,สังฆคุณ(บทอิติปิโส) และบทที่กล่าวพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ (นะโมเมหรือบทแก้วสารพัดนึก) ตั้งแต่ ๖โมงเย็นถึง ๖ โมงเช้าทุกวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จากแนวทางการปฏิบัติที่หลวงพ่อสมัย สมโย (พระครูโชติวัตรวิมล) ได้วางแนวทางไว้จึงทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวพุทธ ทั้งใกล้และไกลเดินทางมาเพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมากขึ้น จำทำให้สถานที่วัดและศาลาปฏิบัติธรรมคับแคบไม่สะดวก  หลวงพ่อสมัย สมโย (พระครูโชติวัตรวิมล) ได้พิจราณเห็นว่าสมควรที่จะสร้างศาลาปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น  จึงได้ริเริ่มการก่อสร้างศาลา โดยหลวงพ่อสมัย สมโย (พระครูโชติวัตรวิมล) ได้วางโครงการประมาณการกำหนดการก่อสร้างศาลาไว้คร่าวๆดังนี้

  • วัดคลองตาลอง ต้องรีบสร้างศาลาปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ จุคนได้เป็นจำนวนให้เสร็จในเร็ววันให้เร็วที่สุด เพื่อรองรับพระภิกษุสงฆ์และญาติธรรมที่จะหลั่งไหลเข้ารับการอบลม

    IMG_9025

    ศาลาปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาบรม

  • ศาลาหลังนี้ต้องใช้จุลินทรีย์ EM ผสมปูนก่อสร้างทั้งหลังเพื่อความคงทนถาวร และประโยชน์อื่นๆ
  • ศาลาที่จะสร้างนี้ให้ชื่อว่า “ศาลาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว”(รายละเอียดข้องศาลาให้ไปดูที่ประวัติศาลาศาลาเฉลิมพระเกียรติ)
  • ต้องมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้ประจำศาลาหลังนี้และต้องเป็นพระพุทธรูปหยกสีเขียวเท่านั้น(รายละเอียดให้ไปดูที่ประวัติพระหยก)

แต่ก่อนที่จะมีการก่อสร้างหลวงพ่อสมัยหรือหลวงพ่อพระครูโชติวัตรวิมลได้นำพระภิกษุและญาติธรรมจำนวนหนึ่งไปสวดมนต์ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาประเทศอินเดีย เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน (รายละเอียดศาลาให้ดูที่ประการสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ)

หลังจากที่ศาลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี่ พ.ศ.๒๕๕๓ ก็มีพระภิกษุและประชาชนเช้าพุทธได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมกันมากโดยเฉพาะการสวดมนต์ตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึง ๖ โมงเช้าทุกวันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ (เป็นปีที่รวบรวมประวัติวัด) รวม ๖ ปี และก็จะดำเนินกิจกรรมนี่ต่อไป

IMG_6571

ป้ายคำสอนในวัด

หลวงพ่อสมัย สมโย (พระครูโชติวัตรวิมล) ไปพาพระเณรและญาติธรรมพัฒนาวัดโดยเน้นความสะอาดและความเป็นระเบียบและความเป็นธรรมชาติโดยเฉพาะความสะอาดหลวงพ่อสมัยเน้นย้ำมากหลวงพ่อสอนว่า “เพราะความสะอาดเป็นรากฐานขั้นต้นของผู้มาเยือนที่จะเห็นและเกิดความประทับใจ” และหลวงพ่อพูดเสมอว่า “ความสะอาดเป็นรากฐานของจิต” ในช่วงเช้าหลวงพ่อจะบอกให้ผู้ดูแล(ศิษย์วัด)ได้ช่วยกันกวาดใบไม้ทำความสะอาดถนนทางเข้าวัด และหลวงพ่อก็จะลดน้ำต้นไม้ทุกวัน เพื่อเตรียมความพร้อมกับการมาเยือนของญาติโยมส่วนหนึ่งจะมาที่วัดในแต่ละวันการได้มาเห็นวัดสะอาดงดงามของธรรมชาติก็สามารถทำให้คนเราเกิดความสบายใจได้ หลวงพ่อสั่งห้ามเด็ดขาดเรื่องการมี มโหสถ ดนตรีการละเล่นต่างที่ทำรายความสงบในวัดและไม่ให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มภายในวัดเด็ดขาด   นอกจากคำสอนจากการแสดงธรรมหรือพูดการทำให้ดูอยู่ให้เห็นและหลวงพ่อยังให้ทำป้ายคำสอนต่างติดบริเวณต่างภายในวัด ส่วนถนนภายในวัดหรือทางเดินเท้านั้นบางส่วนก็เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก บางส่วนก็เป็นทางลาดยาง หรือบางที่ก็จะเป็นทางเดินดินเปล่าเพื่อให้เหมาะกับการเดินจงกลมภาวนา ส่วนของอาคารจะมีทั้งอาคารที่พักและอาคารที่ให้ปฏิบัติทำกิจอันเป็นกุศลต่างๆอาคารใหญ่ ๕ ชั้น ๑ หลัง (อาคารเฉลิมพระเกียรติ) อาคาร ๒ ชั้น อีก ๒ อาคาร แต่ละอาคารจะมีห้องพักและห้องน้ำ,ห้องอาบน้ำในตัวอาคาร นอกจากอาคารและยังมีอุโบสถทีใช้ประกอบกิจของสงฆ์เช่นการอุปสมบทเป็นต้นและยังมีวิหารที่ใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปต่างๆให้เป็นระเบียบ หลวงพ่อบอกว่ารูปสมมุติพระพุทธเจ้าเราควรเก็บไว้ให้เป็นที่เป็นระเบียบไม่ควรเอาไว้ในที่ไม่เหมาะสม

การบริหารจัดการภายในวัดได้มีการจัดบุคคลกรที่ทำหน้าที่ต่างๆทั้งพระและญาติธรรมที่มาอยู่ที่วัด เช่น พระเจ้าหน้าที่สำนักงาน, พระวิปัสสนา, พระวิทยากร, แม่ครัวทำอาหาร ,เจ้าหน้าที่ห้องผลิตสื่อวีดีโอ,เจ้าหน้าที่ดูแลสวน,เจ้าหน้าที่จราจร, และทางวัดคลองตาละอองยังมีการถ่ายทอดรายการธรรมะออกทางสถานีโทรทัศน์ ชื่อรายการพระธรรมนำสุข ออกอากาศ ณ สถานีวัดยานนาวา  WBTV และออกรายการสดทางอินเตอร์เน็ตทั้งใน เว็บไซต์วัด ที่  www.watklongtalong.org , Youtube , facebook และ แอปพลิเคชันบนมือถือ Android ชื่อวัดคลองตาลอง

ตั้งแต่วันที่เริ่มสร้างที่พักสงฆ์โดยหลวงพ่อสว่าง สุขกาโม จนถึงรุ่นหลวงพ่อสมัย สยโย (พระครูโชติวัตรวิมล)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ (ซึ่งเป็นปีที่ผู้รวบรวมประวัติ) รวมแล้วเป็นเวลา ๓๒ ปี